วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนเป็นคู่ (The Learning Cell)


การเรียนเป็นคู่ (The Learning Cell)
การเรียนเป็นคู่ (The Learning Cell)
Ø ทฤษฎี/แนวคิด
คิงสบูรี่ (Kingsbury) เป็นคนแรกที่ใช้วิธีการของการเรียนเป็นคู่ที่มหาวิทยาลัยแม็คกิล (Mc Grill) โดยทดลองใช้กับวิชาต่างๆ หลายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ จิตวิทยา ปรัชญา เคมี การสื่อสาร และสังคมวิทยา พบว่าวิธีการนี้จะนําไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ในทางสร้างสรรค์ (Produc tive) ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน นักเรียนหลายคนที่ขาดทักษะในการสื่อสารที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของการเรียนโดยวิธีนี้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้ทดลองปฏิบัติและได้รับคําแนะนําในทักษะบางอย่าง นัก เรียนเหล่านี้ต่างก็มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Ø ความหมาย
การเรียนเป็นคู่ (The Learning Cell) คือปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนระหว่างผู้เรียน 2 คน นั่นคือการที่ผู้เรียน 2 คนกระทํากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของ การถาม-ตอบปัญหา อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน หรือ อาจอยู่ในรูปอื่น การเรียนเป็นคู่นับว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เทคนิคของการเรียนเป็นคู่สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้ที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เมื่อผู้เรียนได้ทํากิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง (Active) โดยตลอด ได้ รับข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) และได้แก้ไขในส่วนที่ผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนนั้น มีวิธีสอน ที่นิยมใช้กันหลายวิธีที่ไม่อาจบรรลุหลักการดังกล่าว เช่น วิธีสอนแบบบรรยาย ในขณะที่ผู้สอนกําลังบรรยาย ผู้เรียนอาจไม่สนใจฟัง หรือสนใจฟังแต่ไม่เข้าใจ หรือถึงแม้จะเข้าใจแต่คุณภาพของการเรียน รู้ก็จะมีระดับความเข้มต่ํากว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้น ได้ศึกษาและดําเนินบทบาทเป็นผู้สอน คนอื่น วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) และวิธีสอนแบบสัมมนา (Seminar) ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้กระทํากิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง แต่ก็พบปัญหาหลายประการ เช่น ผู้เรียนส่วน ใหญ่ไม่ได้ศึกษาเรื่องที่จะอภิปรายมาก่อน และจะพบอยู่เสมอว่ามีผู้เรียนจํานวนมากไม่ได้แสดงความ คิดเห็น แต่จะมีคนที่พูดเก่ง ชอบอวดตัว หรือก้าวร้าว ผูกขาดการอภิปราย เวลาที่แต่ละคนจะได้พูด ก็มีน้อยมาก เป็นต้น เทคนิคของการเรียนเป็นคู่จะแก้ปัญหาที่กล่าวมาเหล่านี้ เพราะผู้เรียนแต่ละคนจะต้องกระทํากิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง มีโอกาสได้รับข้อมูลสะท้อนกลับและแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด ในเรื่องที่เรียน
Ø ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
รูปแบบของการเรียนเป็นคู่
การเรียนเป็นคู่สามารถกระทําได้หลายแบบ หลายวิธี โกลด์ชมิดได้เสนอแนะไว้ 2 วิธี ซึ่งผ่าน การทดลองอย่างประสบผลมาแล้วดังนี้ (Goldschmid. 1971 : 2-3)
วิธี ก.
วิธีนี้จะกําหนดให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านหรือศึกษาเนื้อหาอย่างเดียวกัน เป้าประสงค์ของวิธีนี้ก็ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคู่ได้มีการสนทนาอย่างเข้มข้นเพื่อตรวจสอบผลการอ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ลุ่มลึกในเรื่องที่อ่าน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ (Information) เกี่ยวกับเรื่องนั้น
วิธีนี้มีขั้นตอนดังนี้
1. ในแต่ละครั้งจะกําหนดเรื่องหรือให้ผู้เรียนเลือกเรื่องที่จะอ่านหรือศึกษาโดยทุกคนจะต้อง อ่านหรือศึกษาในเรื่องเดียวกัน เรื่องดังกล่าวควรเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถ ไม่ยาวเกินไป กล่าว คือสามารถดําเนินการตามวิธีนี้ได้ภายในเวลาสองคาบเรียน (คาบเรียนละประมาณ 50 นาที)
2. แต่ละคนอ่านเนื้อหาในเรื่องที่ได้รับมอบหมายอย่างละเอียด :
3. ทุกคนต้องตั้งคําถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่าน และนําคําถามเหล่านั้นพร้อมสําเนาอีก 1 แผ่น ติดตัวมาด้วยในคาบต่อไป จํานวนของคําถามจะขึ้นอยู่กับความยาวของเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ - อ่านและช่วงเวลาในการเรียนนั้น คําถามที่จะต้องตั้งมาควรมีลักษณะดังนี้ - - - -
ก.คําถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่าน การตอบคําถามเหล่านี้อย่างครบถ้วนจะเป็นการสรุปจุดสําคัญ ของเรื่องนั้น
ข. คําถามในเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ที่ศึกษาจากแหล่งค้นคว้าอื่นนอกเหนือจากที่ได้กําหนด ให้อ่าน ควรมีคําถามประเภทดังกล่าวนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
ค. ถ้าเป็นไปได้ควรมีคําถาม 1 หรือ 2 ข้อที่โยงเนื้อหาที่อ่านไปสู่ประสบการณ์ส่วนตัว หรือ ประสบการณ์ในการทํางาน . ง. อาจมีคําถามประเภทอื่นเพิ่มเติม หรือทดแทนคําถามประเภทที่กล่าวมาถ้าขาดคําถามดังกล่าว
4. ในตอนเริ่มต้นของการเรียนแต่ละครั้ง ผู้สอนจะให้ผู้เรียนจับคู่กัน ครั้งแรกอาจจับคู่โดย ใช้วิธีสุ่ม ครั้งต่อมาให้เปลี่ยนคู่กันไปเรื่อยๆ ผู้ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกันอยู่ในพวกเดียวกัน เช่น ให้ผู้ที่เรียนวิชาเอกเดียวกันเข้าคู่กัน หรือในทางตรงกันข้ามถ้าต้องการให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างกว้างขวางก็อาจจัดให้ผู้ที่มีภูมิหลังแตกต่างกันเข้าคู่กัน วิธีจัดคู่อีกวิธีหนึ่งคือให้ผู้เรียนเลือกคู่ของ
ตนเอง
5. ก่อนเริ่มต้น ถาม-ตอบ ซึ่งกันและกัน ผู้สอนอาจรวบรวมสําเนาของคําถามที่ผู้เรียนแต่ ละคนเขียนไว้ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นการตรวจสอบการเตรียมตัวของผู้เรียน สามารถนํามาประเมินการตั้งคําถามหรือให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้เรียน เป็นต้น
6. ผู้เรียนแต่ละคู่จะถามและตอบคําถามซึ่งกันและกัน โดยสมมติว่าคนหนึ่งเป็น A อีกคน หนึ่งเป็น B แล้วดําเนินการดังนี้
A เป็นผู้ถามคําถามแรกที่ตนเตรียมไว้ B ตอบคําถามนั้น แล้ว A อาจกล่าวเสริมในราย ละเอียด หรือแก้ไขในกรณีที่ 8 ตอบผิด จากนั้น B จะถามคําถามแรกของตน A เป็นฝ่ายตอบ ดําเนินการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
7. ในขณะที่แต่ละคู่กระทํากิจกรรมการเรียน กล่าวคือ ถาม-ตอบ ซึ่งกันและกันนั้น ผู้ สอนและ/หรือผู้ช่วย จะหมุนเวียนไปยังแต่ละคู่ เพื่อให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) ถามและ ตอบคําถาม และประเมินการทํากิจกรรมการเรียน ทั้งนี้ไม่จําเป็นต้องตรวจสอบแต่ละคู่ในทุกครั้งที่ ไปสังเกต
วิธี ข.
ดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดเรื่องหรือให้ผู้เรียนเลือกเรื่อง โดยจะให้อ่านหรือศึกษาคนละส่วนไม่ตรงกัน ชั้น 2- 5 ดําเนินการเช่นเดียวกันกับในวิธี ก.
6. ในแต่ละคู่ ครึ่งแรกของคาบเรียน A บรรยายและอธิบายจุดสําคัญในเรื่องที่ตนศึกษาให้ กับ B แล้วถามคําถามเพื่อตรวจสอบดูว่า B เข้าใจหรือไม่ ถ้าพบว่ายังไม่เข้าใจดีพอ หรือเข้าใจผิด ก็อาจอธิบายเพิ่มเติมหรือแก้จุดที่เข้าใจผิดนั้น ในครึ่งหลังจะกลับบทบาทกันกล่าวคือ B เป็นฝ่าย บรรยายแล้วถามคําถามในเรื่องที่ตนศึกษา ส่วน A เป็นฝ่ายฟังและตอบคําถามนั้นๆ
7. ดําเนินการเช่นเดียวกับในวิธี ก. คือ ในขณะที่แต่ละคู่กระทํากิจกรรมการเรียน กล่าวคือ ถาม-ตอบ ซึ่งกันและกันนั้น ผู้ สอนและ/หรือผู้ช่วย จะหมุนเวียนไปยังแต่ละคู่ เพื่อให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) ถามและ ตอบคําถาม และประเมินการทํากิจกรรมการเรียน ทั้งนี้ไม่จําเป็นต้องตรวจสอบแต่ละคู่ในทุกครั้งที่ ไปสังเกต
Ø   ข้อดีและข้อเสนอแนะของการเรียนเป็นคู่
ข้อดีของการเรียนเป็นคู่
1. เป็นวิธีที่ผู้เรียนทุกคนต้องกระทํากิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง (Active) จึงมีความสน ใจในเรื่องที่เรียนอยู่ตลอดเวลา
2. ผู้เรียนจะเกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างเข้มข้นและมั่นคง เนื่องจากจะต้องเตรียมตัวและศึกษาเรื่องที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติบทบาทของผู้สอน
คือ บรรยาย อธิบาย และถามคําถามต่อเพื่อนที่เป็นคู่เรียนได้
3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะในการตั้งคําถามประเภทต่างๆ ซึ่งจะเป็นแนวนําในการศึกษา ให้แจ่มแจ้ง ในการเรียนจากวิธีอื่นที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟังอย่างเดียว อาจมีคําถามหรือปัญหาที่ข้องใจอยู่ หลายเรื่อง โดยที่ไม่ได้มีโอกาสสร้างความกระจ่างในปัญหานั้นๆ ได้
4. ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาเกี่ยวกับการสื่อสารกับบุคคลอื่น ได้รู้จักกันและเรียนรู้จากกัน และกัน
5. สามารถให้ข้อมูลสะท้อนกลับและแก้ไขจุดบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการเรียนได้มาก ทั้งนี้อาจได้จากเพื่อนที่เป็นคู่เรียนในตอนตอบคําถาม และอาจได้จากผู้สอนในขณะสังเกตและในตอน อภิปราย วิจารณ์คําตอบ
6. สามารถนําไปใช้ได้หลายรูปแบบต่างๆ กัน และภายในแบบหรือวิธีหนึ่งๆ ยังสามารถแปร เปลี่ยนในส่วนปลีกย่อยด้วย เช่น ใช้รูปแบบของคําถามที่แตกต่างกัน สลับคู่เรียนด้วยวิธีต่างๆ กัน การถามคําถามในวิธี ก. อาจถามสลับกันคนละหนึ่งคําถามไปเรื่อยๆ หรือให้ A ถามจนครบทุกคํา ถาม แล้วจึงให้ B เป็นผู้ถามจนครบทุกคําถาม เป็นต้น
7. สามารถนําไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง อาจใช้วิธีนี้วิธีเดียวหรือสลับกับวิธีอื่นในแต่ละครั้งที่
สอน
ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาบางประการ
ในการสอนโดยใช้วิธีการเรียนเป็นคู่ อาจพบปัญหาดังนี้
1. ผู้เรียนบางคนอาจประหม่าในการสบตากับเพื่อนที่เป็นคู่เรียน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากไม่ คุ้นเคยกับวิธีการเช่นนี้มาก่อน หรือเป็นลักษณะประจําตัว บางคนอาจลําบากใจเมื่อเพื่อนรบเร้าให้ ตอบให้ครบถ้วนหรือตอบในประเด็นที่สําคัญ หรือลําบากในการพูดให้ชัดเจน วิธีการแก้ไขปัญหาดัง กล่าวอาจทําได้โดยฝึกทักษะที่สําคัญในการสื่อสาร อย่างไรก็ตามเมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์มากขึ้น จากการเรียนด้วยวิธีนี้ ได้จับคู่กับเพื่อนเรียนหลายคน ก็จะเลิกกลัวและหมดปัญหาดังกล่าว
2. การถามตอบของแต่ละคู่ อาจเกิดเสียงดัง ถ้ามีหลายคู่เสียงอาจรบกวนห้องเรียนอื่น จึง ควรเน้นให้ผู้เรียนถามตอบกันเบาๆ
3. บางคู่อาจทํากิจกรรมเสร็จก่อนคู่อื่นๆ ในกรณีนี้อาจให้แยกกันไปสังเกตคู่อื่นๆ
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนเป็นคู่
โกลด์ชมิด (Goldschmid) เปรียบเทียบผลการเรียนในวิชาจิตวิทยาจากการสอน 4 วิธี คือ วิธีสัมมนา (Seminar) วิธีอภิปราย วิธีศึกษาโดยอิสระ (Independent Study) และวิธี เรียนเป็นคู่ นักศึกษาที่เรียนในแต่ละกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้านได้แก่จํานวนวิชาจิตวิทยา ที่เรียนมาแล้ว วิชาเอก เกรดเฉลี่ยสะสม ผลสัมฤทธิ์ในเนื้อหาวิชาจิตวิทยาที่ทดสอบก่อนเรียน ผล การสอบวัดทางบุคลิกภาพด้วยแบบสํารวจ The California Psychological Inventory เมื่อตอน เริ่มต้นเรียน ผลการทดลองพบว่านักศึกษาที่เรียนโดยวิธีเรียนเป็นคู่ ตอบข้อสอบแบบอัตนัยหลังจาก เรียนวิชานี้เสร็จแล้วโดยไม่ได้บอกให้ทราบถึงการสอบล่วงหน้า ได้ดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญ และจากการจัดอันดับความพอใจในแต่ละชั่วโมงพบว่า อันดับโดยเฉลี่ยของกลุ่มที่เรียนโดยวิธีเรียน เป็นคู่สูงกว่าอีก 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญ (Goldschmid. 1971 : 3-4)


Ø   ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบ




















ที่มา
บุญชม ศรีสะอาด.(2537).การพัฒนาการสอน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:ชมรมเด็ก .สืบค้นเมื่อวันที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น